วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

กำเนิดอาเซียน


กำเนิดอาเซียน




       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย
นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) 
ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) 
นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) 
นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) 
พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง




จุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศฟิลิปปินส์ต่อการรวมตัวอาเซียน


จุดแข็ง
มีแรงงาน ที่มีความรู้ด้าน IT จำนวน มาก ทำให้ฟิลิปปินส์สามารถพัฒนาและส่งออก สินค้า IT ในระยะเวลาอันสั้น
ประชากร ค่อนประเทศมีความรู้ ภาษาอังกฤษ แต่จุดแข็งนี้เริ่มลดลงในปัจจุบัน คนที่ไม่รู้ภาษา อังกฤษมีเพิ่มขึ้น และผู้ที่รู้ก็ใช้อย่างไม่ถูกต้องนัก  ทำให้มีการส่งคนออกไปทำงานต่างประเทศ และนำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของคนในประเทศดีขึ้น และมีกำลังซื้อมากขึ้น และเป็นสิ่งดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ หากมีการพัฒนาด้านอื่นๆ  เช่น สาธารณูโภคขั้นพื้นฐาน อาจจะดึงนักลงทุนไปจากไทยได้
ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น สัตว์น้ำ ทรัพยากรแร่ พื้นที่ การเกษตรทางภาคใต้
เป็นตลาดที่มีศักยภาพในด้านปริมาณ เนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก
จุดอ่อน
มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบราชการอยู่เสมอ กฎระเบียบเข้มงวดและหลายขั้นตอน
มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงสูงในทุกระดับ แม้แต่การเสนอขายสินค้าให้กับบริษัทห้างร้านใหญ่ๆก็ต้องจ่ายเบี้ยบ้ายรายทาง
สหภาพแรงงานแข็งแกร่งและมีบทบาทมาก ทำให้ค่าจ้างแรงงานสูง และมีการเรียกร้องค่าแรงเพิ่มเสมอ ผู้ประกอบ การหลบเลี่ยงปัญหาโดยจ้างคนงานต่ำกว่า 6 เดือน เพื่อมิให้สามารถเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ ทำให้คนงานไม่มีความชำนาญ
ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการจับตัวเรียกค่าไถ่ แม้รัฐบาลกำลังปราบปรามโจรก่อการร้ายอยู่ แต่ยังไม่หมดสิ้นลง ทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างชาติไม่เข้ามาเที่ยวในประเทศ ทั้งๆที่มีธรรมชาติสวยงาม โดยเฉพาะทะเลทางตอนใต้ของประเทศซึ่งเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมีไม่เพียงพอ ไฟฟ้า ดับบ่อย เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ไม่สามารถรองรับการขยายตัวด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม ได้เต็มที่
ประชากรโดยทั่วไปมีลักษณะนิสัยค่อนข้างเฉื่อยชา ทำงานไม่ละเอียดรอบคอบ และไม่ซื่อสัตย์ ธรรมเนียมการให้/รับเงินทิป ทำให้ทุกคนหวังว่าจะต้องได้รับสิ่งตอบแทนทุกครั้งที่ทำอะไรสักอย่างแม้จะเป็นงานในหน้าที่

ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์

ธงชาติฟิลิปปินส์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม


ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines)มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์ และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือจักรภพแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ .. 2483


เพลงชาติลูปังฮินิรัง
เมืองหลวง : มะนิลา
ภาษาทางการ : ภาษาอังกฤษ และ ภาษาตากาลอก
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย ตามแบบสหรัฐอเมริกา
เอกราช : 14 ก.ค. พ.ศ. 2489
พื้นที่ :  พื้นที่ดิน 298,170 ตร.กม. ประกอบด้วยเกาะขนาดต่างๆ 7,101 เกาะ
ประชากร : -2550 ประมาณ 91 ล้านคน
สกุลเงิน : เปโซ (PHP)
เขตเวลา : GMT+800
ระบบจราจร : ซ้ายมือ

ฟิลิปปินส์หรือชื่อทางการคือสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ.2064-2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์

การแบ่งเขตการปกครอง

การแบ่งเขตการปกครอง


ฟิลิปปินส์ แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มาจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ในปี พ.ศ. 2545 มี 79 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไกย์ (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด
ฟิลิปปินส์ แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง
          หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเองไม่ได้ให้ผู้อื่นปกครอง


การศึกษาของฟิลิปปินส์

การศึกษาของฟิลิปปินส์


           ระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยการศึกษาแบบที่เป็นทางการนั้นมีลำดับขั้นตอนของการเรียนอยู่สามระดับนั่นคือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ในระดับประถมศึกษานั้นจะใช้เวลาศึกษาภาคบังคับหกปีที่โรงเรียนของรัฐบาลหรือเจ็ดปีในโรงเรียนของเอกชนนอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยซึ่งนักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ โดยการศึกษาระดับนี้รวมไปถึงการเรียนชั้นอนุบาลและอาจเป็นหลักสูตรเตรียมประถมศึกษาก็ได้ นักเรียนที่มีอายุระหว่างสามหรือสี่ปีจะเข้าเรียนในสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนจนกระทั่งมีอายุครบ 5-6 ปี จึงจะเลื่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง

            การศึกษาระดับมัธยมศึกษาใช้เวลาสี่ปีโดยนักเรียนต้องเรียนจบชั้นประถมศึกษาตอนปลายก่อน นักเรียนส่วนใหญ่ที่เรียนชั้นมัธยมศึกษาจะมีอายุ 12 ปีและเรียนจบเมื่ออายุ 15 ปี ส่วนระดับอุดมศึกษานั้น นักเรียนส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 16 ปี การศึกษาระดับนี้แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในหลากหลายสาขาวิชา นอกจากนั้น การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษายังรวมไปถึงหลักสูตรอาชีวศึกษาแบบสองหรือสามปีที่อาจไม่มีการมอบปริญญาก็ได้

           ระบบการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ใกล้เคียงกับระบบการศึกษาแบบเป็นทางการของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียมักจะได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือเนเธอร์แลนด์

           การศึกษาแบบไม่เป็นทางการซึ่งรวมถึงการรับความรู้นอกโรงเรียนนั้นมีวัตถุประสงค์หลักสำหรับผู้เรียนกลุ่มเฉพาะ เช่น เยาวชนหรือผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้ ตัวอย่างได้แก่หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือซึ่งบูรณาการการเขียนและการอ่านเบื้องต้นเข้ากับทักษะในชีวิตประจำวัน

            หน้าที่ในการบริหาร ควบคุม และดำเนินการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ระดับประถมและมัธยมศึกษา) นั้นจะเป็นของแผนกการศึกษา วัฒนธรรมและกีฬา  ในขณะที่คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษาจะรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาระดับสูง ส่วนการศึกษาด้านเทคนิคหลังมัธยมศึกษานั้นจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาทักษะและการศึกษาด้านเทคนิคซึ่งยังมีหน้าที่ปฐมนิเทศ ให้การฝึกอบรมและการพัฒนาด้านทักษะอาชีพแก่เยาวชนที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนและผู้ใหญ่ที่ว่างงาน

นอกจากนี้ประเทศฟิลิปปินส์ใช้การเรียนการสอนแบบทวิภาษา บางวิชาจะส่วนเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาอื่นๆ จะสอนเป็นภาษาฟิลิปปินส์

ภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ

ภูมิศาสตร์


ลักษณะภูมิประเทศ 
เป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ พื้นที่ทุกเกาะมีภูเขาเป็นแกนกลาง มีที่ราบอยู่น้อย เป็นที่ราบแคบ ๆ ที่ราบสำคัญคือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอน เรียกว่า ที่ราบมะนิลา เป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด

ลักษณะภูมิอากาศ 
มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เศรษฐกิจ

เกษตรกรรม 
พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า
ป่าไม้ 
มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี
เหมืองแร่ 
ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
อุตสาหกรรม 
ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์



ภาษา

ภาษา




มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปีโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ
โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
หมายเหตุ: จากการพูดคุยกับชาวฟิลิปปินส์ (รวมถึงนั่งดูรายการทีวีและฟังจากสถานีวิทยุ) ทราบว่า ปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์ มีการใช้ภาษาที่เรียกว่า ทากรีส (Tagalog + English) คือพูดตากาล็อกคำอังกฤษคำ ผสมกันไปในประโยคสนทนา แต่เป็นที่เข้าใจกันในหมู่ของประชาชน แม้แต่ในรายการทีวีและรายการวิทยุ



ศาสนา

ศาสนา


ฟิลิปปินส์  เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอันดับ 4 ของโลก นิกายโปรเตสแตนต์อันดับ 13 ของโลก ศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลกศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก  ร้อยละ 92.5 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์



อาหารฟิลิปปินส์



อาหารฟิลิปปินส์




              อาหารฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยอาหาร วิธีการเตรียมและประเพณีการรับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ รูปแบบของการทำอาหารและอาหารที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาตลอดระยะหลายศตวรรษจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนผสมกับอาหารสเปนและโปรตุเกส จีน อเมริกัน และอาหารอื่น ๆ ในเอเชียที่ปรับให้เข้ากับส่วนผสมพื้นเมืองและความนิยมในท้องถิ่น

              อาหารมีตั้งแต่ง่ายมาก  เช่น ปลาทอดเค็มและข้าวและอาหารที่มีความประณีต อาหารยอดนิยมฟิลิปปินส์ยอดนิยมได้แก่ เลโชน (lechón หมูย่างทั้งตัว), ลองกานีซา (longganisa ไส้กรอกฟิลิปปินส์)
 ตาปา (tapa ทำจากเนื้อวัว) ตอร์ตา (torta ไข่เจียว) อะโดโบ (adobo ไก่และ / หรือหมูต้มในกระเทียม น้ำส้มสายชู น้ำมัน และซอสถั่วเหลืองเคี่ยวจนแห้ง) กัลเดเรตา (kaldereta สตูว์เนื้อในซอสมะเขือเทศ)
เมชาโด (mechado เนื้อ ปรุงกับถั่วเหลืองและซอสมะเขือเทศ)โปเชโร (pochero กล้วยและเนื้อในซอสมะเขือเทศ) อะฟริตาดา (afritada ไก่หรือหมูในซอสมะเขือเทศกับผัก) กาเร-กาเร (kare - kare หางวัว และผักสุกในซอสถั่วลิสง) พาตากรอบ (ขาหมูทอด ) ฮาโมนาโด (hamonado หมูหวานในซอสสับปะรด) อาหารทะเลในน้ำซุปรสเปรี้ยว ปันสิท( pancit ก๋วยเตี๋ยว) และลุมเปีย (lumpia ปอเปี๊ยะสดหรือทอด)

การแต่งกายประจำชาติ ฟิลิปปินส์

การแต่งกายประจำชาติ ฟิลิปปินส์



ผู้ชาย 
สวมเสื้อแขนยาว คอจีน กระดุมผ่าหน้าถึงหน้าอก มีลายปักหรือลายตกแต่งรอบๆแถบกระดุมเสื้อ  กางเกงขายาวสีดำ รองเท่าหนังหุ้มส้น



ผู้หญิง
 เสื้อมีลักษณะพิเศษ คือมีแขนเสื้อทรงขาหมูแฮมขนาดใหญ่ ส่วนตัวกระโปรงจะเป็นกระโปรงเข้ารูปหรือกระโปรงสุ่ม ตัวกระโปรงจะเป็นผ้าชนิดเดียวกันหรือจะมีลวดลายสดใสก็ได้